เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

[356] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
จึงเกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยอทุกขม-
สุขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ
อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ที่เสวย
อยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’
[357] ภิกษุ เปรียบเหมือนไม้ 2 อัน เสียดสีกัน จึงเกิดความร้อน ไฟลุกขึ้น
เพราะแยกไม้ทั้งสองนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีนั้นจึงดับ
ระงับไป แม้ฉันใด บุคคลก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวย
สุขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ สุขเวทนา
ที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับคือสงบไป’
[358] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยทุกขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า
‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแลดับ ทุกขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัย
ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’
[359] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งอทุกขมสุขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจึง
เกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
อยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ อทุกขม-
สุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ที่เสวยอยู่อัน
เกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’1
[360] ทีนั้น อุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน และ
ผ่องใส เหลืออยู่ เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองผู้ชำนาญ ตระเตรียม
เบ้าแล้วสุมปากเบ้า เอาคีมคีบทองใส่ลงที่ปากเบ้า แล้วสูบลมตามสมควรแก่เวลา